เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 4. สุทธัฏฐกสุตตนิทเทส
ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ซึ่งความถือ ความยึดมั่น ความถือมั่น ความติดใจ
ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้ เยี่ยม ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด
คือ ความถือมั่นนั้นพระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับ
ได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์
เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์ เพราะรู้และเห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มี
ความถือมั่น
คำว่า ไม่เป็นผู้กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็น
ที่คลายกำหนัด อธิบายว่า ชนเหล่าใดกำหนัด คือ ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น
เกาะติด เกี่ยวพัน พัวพันในกามคุณ 5 ชนเหล่านั้น ตรัสเรียกว่า ผู้กำหนัดใน
กามคุณเป็นที่กำหนัด ชนเหล่าใดกำหนัด คือ ยินดี ติดใจ สยบ หมกมุ่น เกาะติด
เกี่ยวพัน พัวพันในรูปาวจรสมาบัติ และอรูปาวจรสมาบัติ ชนเหล่านั้นตรัสเรียกว่า
ผู้กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด
คำว่า ไม่เป็นผู้กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่
คลายกำหนัด อธิบายว่า เมื่อใด พระอรหันต์ละกามราคะ รูปราคะ และอรูปราคะ
ได้เด็ดขาดแล้ว ตัดรากถอนโคนเหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ เมื่อนั้น พระอรหันต์ จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่
กำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด
คำว่า นั้น ในคำว่า พระอรหันต์นั้น ไม่มีความถือมั่นว่ายอดเยี่ยมในโลกนี้
ได้แก่ พระอรหันตขีณาสพ พระอรหันต์นั้นไม่มีความถือ ความยึดมั่น ความ
ถือมั่น ความติดใจ ความน้อมใจเชื่อว่า สิ่งนี้ เยี่ยม ยอด ประเสริฐ วิเศษ
นำหน้า สูงสุด ประเสริฐสุด
คำว่า ไม่มี ได้แก่ ไม่มี คือ ไม่มีอยู่ ไม่ปรากฏ หาไม่ได้ ได้แก่ ความถือมั่นนั้น
พระอรหันต์ละได้แล้ว ตัดขาดได้แล้ว ทำให้สงบได้แล้ว ระงับได้แล้ว ทำให้เกิดขึ้นไม่
ได้อีก เผาด้วยไฟคือญาณแล้ว รวมความว่า พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น
ว่ายอดเยี่ยมในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :122 }


พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส
พระอรหันต์เป็นผู้ไปพ้นเขตแดนแล้ว เป็นพราหมณ์
เพราะรู้และเห็น พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่น
พระอรหันต์ไม่มีความกำหนัดในกามคุณเป็นที่กำหนัด
ไม่กำหนัดในสมาบัติเป็นที่คลายกำหนัด
พระอรหันต์นั้น จึงไม่มีความถือมั่นว่า ยอดเยี่ยมในโลกนี้
สุทธัฏฐกสุตตนิทเทสที่ 4 จบ

5. ปรมัฏฐกสุตตนิทเทส1
อธิบายปรมัฏฐกสูตร
ว่าด้วยผู้ยึดถืออยู่ในทิฏฐิ
พระสารีบุตรเถระจะกล่าวอธิบายปรมัฏฐกสูตร ดังต่อไปนี้
[31] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
สัตว์เกิดผู้ยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่า ยอดเยี่ยม
ย่อมทำทิฏฐิใดให้ยิ่งใหญ่ในโลก
กล่าวทิฏฐิอื่นทุกอย่าง นอกจากทิฏฐินั้นว่า เลว
เพราะฉะนั้น สัตว์เกิดนั้นจึงไม่ล่วงพ้นการวิวาทไปได้
คำว่า ยึดถือในทิฏฐิทั้งหลายว่า ยอดเยี่ยม อธิบายว่า มีสมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง เป็นเจ้าลัทธิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น จับ ยึด ถือ ยึดมั่น ถือมั่นทิฏฐิ
อย่างใดอย่างหนึ่งในทิฏฐิ 62 ว่า "ทิฏฐินี้ เยี่ยม ยอด ประเสริฐ วิเศษ นำหน้า
สูงสุด ประเสริฐสุด" ย่อมอยู่ อยู่ร่วม อยู่อาศัย อยู่ครองด้วยทิฏฐิของตน ๆ อธิบาย
ว่า พวกคนครองเรือนก็อยู่ในเรือน บรรพชิตที่มีอาบัติก็อยู่ในอาบัติ ผู้มีกิเลสก็อยู่ใน
กิเลสทั้งหลาย ฉันใด มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งเป็นเจ้าลัทธิ สมณพราหมณ์เหล่านั้น

เชิงอรรถ :
1 ขุ.สุ. 25/803-810/492-493

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :123 }